สมุนไพรไทย

มะรุม

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam.
วงศ์ :  Moringaceae 

มะรุม
มะรุม เป็นพืชที่มีสรรพคุณทุกส่วน
ไม่ว่าจะเป็นราก เปลือก ใบ ดอก หรือฝัก โดยเฉพาะฝักที่คนไทยนิยมนำมาแกงเป็นแกงส้มมะรุมเพื่อรับประทาน นอกจากจะอร่อยแบบไทยแท้ๆ ยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาไข้ หรือลดไข้ได้อีกด้วย

มะรุม เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในหลายด้าน เช่น ราก จะมีรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ เปลือก จะมีรสร้อน ช่วยขับลม ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ดอก ช่วยบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน้ำตาฝัก รสหวาน แก้ไข้หรือลดไข้ เป็นต้น

ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ราก ฝัก ใบ เนื้อในเมล็ด

สรรพคุณของส่วนต่างๆ ของมะรุม :

ฝัก - ปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ไข้หัวลม 
เปลือกต้น - มีรสร้อน รับประทานเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อนๆ (ตัดต้นลมดีมาก)
ราก - มีรสเผ็ด หวานขม แก้บวม บำรุงไฟธาตุ มีคุณเสมอกับกุ่มบก แก้พิษ ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
แพทย์ตามชนบท ใช้เปลือกมะรุมสดๆ ตำบุบพอแตกๆ อมไว้ข้างแก้ม แล้วรับประทานสุราจะไม่รู้สึกเมาเลย

จากประสบการณ์ เนื้อในเมล็ดมะรุม ใช้แก้ไอได้ดี ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก การรับประทานเนื้อในเมล็ด และใบสดเป็นประจำสามารถเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายได้

ข้อควรระวัง ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน

มะรุม เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย

คุณค่าทางอาหารของมะรุม


มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ใบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรคใบมะรุมมี โปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ 3 เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ วิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม แคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด โพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย ใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก

ประเทศอินเดียหญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก ประเทศฟิลิปปินส์และบอสวานา หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม(ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก “มาลังเก”) เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย  กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่
เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทิน และ เควอเซทิน (rutin และ quercetin)สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ  การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย ฆ่าจุลินทรีย์ สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลต ค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู 
ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

มะรุมกับการป้องกันมะเร็ง

สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซินจากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง 120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน เทียบกับยาโลวาสแตทิน 6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก
ใบมะรุม 100 กรัม(คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)
พลังงาน 26 แคลอรี
โปรตีน 6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน 0.1 กรัม
ใยอาหาร 4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี 220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน 110 ไมโครกรัม
แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)
พบว่าทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิดไตรกลีเซอไรด์
ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิดและ atherogenic index ต่ำลงทั้ง 2 กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับหัวใจ และท่อเลือดแดง (เอออร์ตา) กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด
กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้นผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม

การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง

สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

มะรุมกับโรคในตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยยาไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤืธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรสอะลานีนทรานมิโนทรานสเฟอเรส  อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ

โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตัวจากยาเหล่านี้ ชาวอินเดียยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติ ในการรักษาโรคต่างๆได้ถึง 300 ชนิด กลุ่มองค์การกุศลมากมายได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับ พันธุ์ไม้ชนิดนี้ รวมทั้งประเทศไทยกลุ่มนักศึกษาแพทย์จำนวน25ท่าน จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้ทำการทดลองวิจัยในการที่จะนำมารักษาผู้ป่วยด้วยโรคงูสวัด กลุ่มประเทศอื่นๆเช่นอังกฤษ,เยอรมัน,รัสเซีย,ญี่ปุ่น,จีน,ก็หันมาให้ความสนใจและทำการค้นคว้าอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรค มะเร็ง เบาหวาน โรคเอดส์ และอีกมากมาย
ผลการรักษาโรคของ มะรุม จากงานวิจัยจากต่างประเทศ

1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอด ได้เป็นอย่างดี
2.ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย
3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4.ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายถ้าแม้ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อ HIV นอกจากนี้ยังช่วยให้คนทั่วๆไป สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง
5.ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้และสามารถมีชิวิตอยู่อย่างคนทั่วไปได้ในสังคมการรักษาโรคเอดส์ที่ประสบผลสำเร็จในกลุ่มประเทศแอฟริกาแม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยู่ในสถานะทดลอง
6.ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งแต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้นในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน หากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสีการดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊า โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8.รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็นโรคตาต้อ เป็นต้นถ้ารับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น
10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ

ในต่างประเทศมีการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางที่จะนำพืชชนิดนี้มาใช้รักษาความเจ็บป่วยของมนุษย์ เนื่องจากมะรุมเป็นพืชที่มีธาตุอาหารปริมาณสูงมาก ใบ ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ ใบสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ มีแคลเซียม วิตามินซี แร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระสูงมากนอกจากนี้ยังมีการค้นพบว่า ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่าการกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศโลกที่ 3เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน


กระชาย [Finger Root] : เลือกรากที่สด อวบอ้วน เนื้อจะมีน้ำมาก กลิ่นหอม รสซ่า ล้างให้สะอาดก่อนใช้ ขูดเอาเปลือกออก แล้วล้างอีกครั้ง สรรพคุณ ช่วยไล่แก๊ส, ช่วยในระบบการย่อยอาหาร บรรเทาอาการจุกเสียดกระเพาะอาหาร กระชายยังอุดมด้วยวิตามิน เอ, บี12 และแคลเซียมด้วย
พริกแห้ง [Dried Chilies] : พริกแห้งโดยทั่วไปมักจะนำไปคั่วและตำให้ละเอียดเพื่อใช้เป็นเครื่องปรุง นอกจากนั้นพริกแห้งยังนิยมใช้ในการทำอาหารประเภทแกง สรรพคุณของพริกช่วยทำให้เจริญอาหาร ยังช่วยไล่แก๊ส, ลดเสมหะ, ขับปัสสาวะ และยังช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยอีกด้วย.
หัวหอมใหญ่ [Onions] : หอมใหญ่ที่มีคุณภาพดีจะต้องมีน้ำหนักมาก ผิวแห้งและเรียบ เพื่อให้เก็บได้นานขึ้น ควรเก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ควรแช่ไว้ในตู้เย็น
ข่า [Galangal] : เป็นพืชในตระกูลเดียวกับขิง มีรสเผ็ดร้อนและกลิ่นแรง ไม่เหมือนกับขิงธรรมดาทั่วไป ควรเลือกซื้อเฉพาะข่าอ่อน รากอวบอ้วน และผิวมีสีชมพูอ่อน สรรพคุณของข่าคือ ช่วยไล่แก๊สในลำไส้ และรักษาโรคท้องร่วง โรคบิด และยังช่วยลดเสมหะ
สมุนไพรไทย : มะกรูดมะกรูด (Kaffir lime)
สมุนไพรไทย : ข่า     ข่า (Galangal)
ตะไคร้ [Lemongrass] : ควรเลือกซื้อตะไคร้ที่ฐานบริเวณลำต้นอวบอ้วนและมีสีม่วงอ่อน เวลาใช้ต้องควรปอกเปลือกข้างนอกออกจนกระทั่งเห็นเนื้อข้างในที่มีสีชมพู สรรพคุณของตะไคร้คือช่วยในส่วนการย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และช่วยบรรเทาอาการอาเจียน นอกจากนั้นยังช่วยลดความดัน และไล่แก๊ส ตะไคร้ยังใช้เป็นยาบรรเทาอาการเป็นไข้ และลดอาการปวดท้อง
หอมแดง [Shallots] : หอมแดงที่มีผิวสีม่วงอมแดง ให้กลิ่นที่แรงกว่าหอมแดงที่มีผิวสีออกเหลืองอ่อนซึ่งจะมีรสออกหวานกว่าเล็กน้อย สรรพคุณของหอมแดงช่วยไล่แก๊ส ขับปัสสาวะ และช่วยรักษาอาการไข้


ดอกอัญชัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea
ชื่อวงศ์ : Fabaceae
ชื่อท้องถิ่น : แดงชัน,เอื้องชัน
     ในดอกอัญชัญมีสารอดีโนซีน (adenosine), สารแอฟเซลิน (afzelin) ,สารอปาราจิติน (aparajitin) กรดอราไชดิก (arachidic acid) ,สารแอสตรากาลิน (astragalin) ,กรดชินนามิกไฮดรอกซี (cinnamic acid, 4-hydroxy) ,สารเคอร์เซติน (quercetin) ,สารซิโตสเตอรอล ,สารแอนโทไซอานิน  เป็นต้น
สรรพคุณ
ดอก : รักษาอาการผมร่วง แก้ฟกช้ำบวม ใช้ผสมอาหารให้สีม่วง
เมล็ด : ใช้เป็นยาระบาย
ใบและราก : ดอกอัญชันชนิดขาวใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบาย  ดอกอัญชัญชนิดม่วงแก้ตาฟางและตาแฉะ
     คนสมัยก่อนจะใช้น้ำที่คั้นจากดอกอัญชัญทาผม หนวด เครา และคิ้วเพื่อให้ขึ้นดกดำ   นอกจากนี้ยังใช้ทาคิ้วเด็ก ทำให้คิ้วดกดำ  และในปัจจุบันยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแชมพูสระผมและครีมนวด  สีจากกลีบดอกสดมีสีน้ำเงินด้วยสารแอนโทไซอานิน และเมื่อเติมน้ำมะนาว ลงไปเล็กน้อยจะกลายเป็นสีม่วง  ใช้แต่งสีขนม   ใช้แต่งสีอาหารเช่น หุงข้าวผสมสีด้วยน้ำที่คั้นจากดอกอัญชัญ จะได้ข้าวสีน้ำเงินอมม่วงสวยงามน่ารับประทาน
    นอกจากนี้ยังสามารถนำดอกอัญชัญตากแห้งมาชงดื่มแทนน้ำชาได้อีกด้วย  ข้อแนะนำในการดื่มน้ำดอกอัญชัญควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา  ไม่ควรดื่มน้ำจากสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆเพราะจะทำให้เกิดการสะสมของสารบางชนิด  ที่ออกฤทธิ์เป็นผลเสียต่อร่างกายได้
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากน้ำดอกอัญชันมีดังนี้
1. เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน
2. ใช้เป็นสีผสมอาหาร
3. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น  นื่องจากดอกอัญชัญมีสารที่จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ  เช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น  และความสามารถของสารแอนโธไซยานินในดอกอัญชัญยังเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตาเช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมมากขึ้น ทำให้เซลล์รากผมแข็งแรงขึ้น
    ในตำรายาไทยโบราณยังได้กล่าวถึงสรรพคุณของดอกอัญชันไว้ว่า  รากมีรสเย็นใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ เป็นยาระบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้ตากอักเสบ ตาฟาง ตาแฉะ นอกจากนี้ยังมีการนำรากอัญชันมาถูฟันแก้ปวดฟัน ทำให้ฟันคงทนแข็งแรง เมล็ดใช้เป็นยาระบายแต่จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน
    นับเป็นความมหัศจรรย์ของสมุนไพรอีกชนิด  ที่มีประโยชน์ในการนำมาใช้สอยมากมาย อีกทั้งยังปลูกง่ายหาได้ทั่วไป  ดอกอัญชัญนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกร่างกายแล้วยังปลูกไว้เป็นรั้วสีสวยดูสบายตาได้อีกด้วย เคยเห็นผู้เฒ่าผู้แก่เอามาเสียบกับก้านทางมะพร้าวนำไปใส่แจกันบูชาพระสวยดีอีกด้วย


น้ำตะไคร้


                                                            


ส่วนผสม
- ตะไคร้ 20 กรัม(1ต้น )
- น้ำเชื่อม 15 กรัม( 1 ช้อนคาว )
- น้ำเปล่า 240 กรัม( 16 ช้อนคาว )

วิธีทำ
นำตะไคร้มาล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้น ทุบให้แตก ใส่หม้อต้มกับน้ำ ให้เดือดกระทั่งน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำจนเป็นสีเขียวสักครู่จึงยกลง กรองเอาตะไคร้ออก เติมน้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ หรืออาจเอาเหง้าแก่ ที่อยู่ใต้ดิน ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆคั่วไฟอ่อนๆพอเหลือง ชงเป็นชา ดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชา จะช่วยขับปัสสาวะให้สะดวก

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร :  มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้กับอาหาร
คุณค่าทางยา :  แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อได้ดี ช่วยลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตสูง